วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดี  ที่ 2 ธันวาคม 2558
( เวลา 09.00-12.30น.)

สอบร้องเพลง
เพลง พายเรือ






การนำไปประยุกต์ใช้
                 เพลงที่อาจารย์สอบทั้ง 25 เพลง ต้องจำให้ได้ทั้งหมดเพื่อที่จะจับฉลากเลือกมา 1 เพลง เเละเพลงเหล่านี้ยังสามารถได้ได้ในการสอนเด็กปฐมวัย
การประเมิน
ตนเอง     สามารถร้องเพลงออกมาได้ถูกต้องตามเนื้อ แต่มีเพี้ยนบ้างอาจารย์ก็ให้คะแนนเต็ม
เพื่อน      เพื่อนๆดูมีความพร้อมในการสอบครั้งนี้ ทุกคนได้คะแนนเต็มหมด
อาจารย์  อาจารย์มีเกณฑ์ในการตัดสินที่ดี และเตรียมการสอบมาดีมาก

บันทึกการเรียนครั้งที่  14
วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤศจิกายน 2558  เวลา
( 09.00 - 12.30 น.)
ความรู้ที่ได้รับ
                 อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกระตุ้นสมองซีกซ้ายซีกขวา นำเสนอนิทานเป็นกลุ่ม จากนั้นอาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษาและสอนวิธีการเขียนแผนการสอน





การนำไปประยุกต์ใช้
                         การจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา เช่น ทำอาหาร ทดลองวิทยาศาสตร์ 
                         จุดประสงค์การเขียนแผนการสอนพยายามใช้เชิงพฤติกรรมเด็กหรือการแสดงที่เห็นชัด แต่ไม่ต้องบรรยายมาก เอาเท่าที่เราเข้าใจ
การประเมิน
ตนเอง  วันนี้อาจารย์พาทำกิจกรรมกระตุ้นสมองซีกซ้าย ซีกขวา ก็ทำได้ทั้งหมดจากนั้นเราก็ได้นำเสนองานเล่านิทานหน้าชั้นเรียน สามารถออกไปเล่าได้อย่างตื่นเต้น
เพื่อน   วันนี้เพื่อนๆพร้อมเพรียงกันออกเป็นเสียงเดียวให้ฉันเป็นคนออกไปเล่านิทานของกลุ่มโดยเพื่อนๆคอยช่วย
อาจารย์  อาจารย์คอยแนะนำการเล่านิทานและมีกิจกรรมกระตุ้นก่อนเรียนเสมอ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพฤหัสบดีที่ 12 พศจิกายน 2558
(เวลา 09.00 - 12.30น.)

ความรู้ที่ได้รับ
         แบ่งกลุ่มแต่งหนังสือนิทาน  เรื่อง แช่มช้อย








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                       แต่งนิทานแบบง่าย อุปกรณ์และขั้นตอนไม่ยาก สามารถนพำมาทำเป็นสื่อการสอนได้

การประเมิน
ตนเอง     มีความพร้อมในการเรียนและทำงานในกลุ่มสามารถทำงานออกมาได้สำเร็จ
เพื่อน       เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำงานกลุ่ม ช่วยกัน มีความสามัคคี
อาจารย์    อาจารย์คอยอธิบายแและแนะนำวิธีการขั้นตอนในการทำ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 

วันพฤหัสบดี ที่  5 พฤศจิกายน  2558

 (เวลา  09.00 - 12.30 น.)


ความรู้ที่ได้รับ
        ได้ทำกิจกรรมก่อนเรียนและฝึกเขียนบนกระดาษ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                     ได้ฝึกเขียนตัวเต็มบรรทัด บนกระดาษแผ่นใหญ่โดยที่ติดไว้บนผนังเป็นการเขียนที่ลำบากแต่ต้องฝึกเพื่อใช้ในวันข้างหน้า

การประเมิน

ตนเอง  ยังเขียนได้ไม่สวย และต้องฝึกอีกเยอะ
เพื่อน เพื่อนๆบางคนเขียนได้สวยมาก แต่ก็ยังมีบางคนที่เขียนยังไม่สวย 
อาจารย์ อาจารย์คอยเดินดูพร้อมทั้งคอยให้คำแนะนำในการเขียน

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดี  ที่  29  ตุลาคม  2558 
( เวลา 09.00-12.30น)

ความรู้ที่ได้รับ
          อาจารย์สอนเนื้อหา แบ่งกลุ่มเล่นเกมกระตุ้นสมองก่อนเรียน แล้วก็เรียนทฤษฎีเรื่อง  การสอนแบบโครงการ ( Project  Approach) 

การสอนแบบโครงการ ( Project  Approach) 


เพื่อนๆเล่นเกม


เพื่อนๆเล่นเกม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ในการสอนเด็กอนุบาลต้องมี การสอนแบบโครงการ ( Project  Approach) นำความรู้ที่อาจารย์ได้สอนวันนี้ไปใช้ได้ในเวลาไปสอน

ประเมินตนเอง
-สนุกกับกิจกรรม แต่งงในเนื้อหานิดหน่อย

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆให้ความสนใจและสนุกสนานในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สอนเนื้อหาได้อย่างละเอียด และมีเกมใหม่ๆมาให้เล่นอยู่เสมอ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่  22 ตุลาคม 2558 
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
-ได้ฝึกทำไม้ไว้ชี้กระดาน น่ารักมุ้งมิ้ง และได้ฝึกการสอนหน้าห้องเรียน

ทำไม้ชี้ตัวหนังสือ




ฝึกสอนหน้าห้องเรียน 


เพื่อนๆเป็นนักเรียน


เพลงของกลุ่ม 


การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเพลงที่แต่งในวันนี้ไปสอนเด็กร้องได้ และใช้ไม้ที่ทำไปชี้กระดาน

ประเมินตนเอง
- มีความตั้งใจในการกิจกรรม แต่ไม่กล้าที่จะออกไปเป็นผู้นำ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนในกลุ่มมีความเป็นผู้นำและกล้าที่จะออกไปฝึกสอนหน้าห้องเรียน

ประเมินอาจารย์
-เวลานักศึกษาทำผิด สอนผิด อาจารย์จะคอยบอกคอยสอน คอยแนะนำอยู่ทุกขั้นตอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558
เวลาเรียน  9.00-12.30 น.

หมายเหตุ : ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากติดธุระ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2558

เวลาเรียน  9.00-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
- ได้ฝึกแบ่งกลุ่มแบบร้องเป็นเพลง เล่นเกม จบที่เพลงไหนก็อยู่กลุ่มนั้น และฝึกเขียนคำคล้องจอง แต่งเป็นเพลง


เล่นเกมแบ่งกลุ่ม


ได้หัวข้อ ขนมไทย



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ใช้การแบ่งกลุ่มนี้ไปใช้แบ่งกลุ่มเด็ก นอกจากจะสนุกสนานยังได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆด้วย

ประเมินตนเอง
- รู้สึกสนุกและตื่นเต้นเพราะเล่นเกมไม่คิดว่าอาจารย์จะให้แบ่งกลุ่ม

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆฃ่วยกันแต่งเพลง และทำงานอย่างสามัคคี ทั้งที่ไม่เคยร่วมกลุ่มกันมาก่อน

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์จะคอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือตลอด

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2558
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.

หมายเหตุ : สอบกลางภาค 1/2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2558
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.


หมายเหตุ : งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.

หมายเหตุ: ขาดเรียนเนื่องจากไม่สบาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 2558
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

 1.   ได้รับแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกบการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งเป็น 3 แนวคิดคือ
                 1.กลุ่มแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
                     2.กลุ่มแนวคิดพัฒนาการทางสติปัญญา
                 3.กลุ่มแนวคิดที่เชื่อรื่องความพร้อมทางร่ากาย
                     4.กลุ่มแนวคิดที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการแต่งนิทานเล่มใหญ่ร่วมกับเด็กๆในห้องเรียน

เนื้อเพลงในคาบนี้


 ให้แต่งนิทานเล่มใหญ่เป็นกลุ่ม 


นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-นำนิทานที่ทำเป็นกลุ่มวันนี้ไปใช้ในการเรียนการสอน
-เพลงใช้เล่นกับเด็ก

ประเมินตนเอง
-มีความสุขและสนุกในการทำกิจกรรมกลุ่ม มีความตั้งใจที่จะทำ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือและมีความสามัคคีกันมาก

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์หากิจกรรมสนุกๆให้ทำอยู่เสมอ ก่อนที่จะมีการทำกิจกรรมจะมีเนื้อหาสอดแทรกตลอด


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วัน พฤหัสบดี ที่ 3 กันยายน ปี 2558
เวลาเรียน 09:00 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ

           การใช้ภาษาในการสื่อสารกับเด็กต้องเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและมีความหมายที่ถูกต้องเพราะเด็กจะเรียนรู้จากเรา ในห้องเรียนของเด็กไม่ควรใช้สีไม้เพราะจะเป็นอันตรายกับเด็ก วิธีการแต่งบล็อก

เนื้อหาที่เรียน
การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา 
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
 1. การฟัง     2การพูด
  
3. การอ่าน  4. การเขียน
องค์ประกอบของภาษา
1. Phonology
คือระบบเสียงของภาษา      
เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2. Semantic
คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
เช่น คนกลาง
-คนที่นั่งระหว่างกลางโดยคนอื่นๆ นั่งขนาบข้าง
-ลูกคนที่อยู่ในลำดับกลางระหว่างพี่กับน้อง
-ผู้ถือความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
-ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
-ผู้ทำการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
3. Syntax


คือระบบไวยากรณ์          การเรียงรูปประโยค
เช่น
- ครูตีเด็ก  เด็กถูกครูตี
- นกสีฟ้า  Blue Bird
แม่เกลียดคนใช้ฉัน   ฉันเกลียดคนใช้แม่
คนใช้เกลียดแม่ฉัน    แม่คนใช้เกลียดฉัน
ฉันเกลียดแม่คนใช้  แม่ฉันเกลียดคนใช้
4. Pragmatic
คือระบบการนำไปใช้        ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
เช่น    สวัสดีค่ะ/ครับ
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
1.ระยะเปะปะ (Prelinguistic Stage) 

อายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน
เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย เพื่อบอกความต้องการ
ออกเสียง อ้อ – แอ้
เป็นช่วงที่ดีในการสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางการพูด
เด็กที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจจะมีพัฒนาทางภาษาที่ดี
2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage)
อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
สามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
พอใจที่ได้ส่งเสียง
ถ้าเสียงใดที่เด็กเปล่งออกมาได้รับการตอบสนองในทางบวก เด็กก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก
บางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามเสียงคนที่พูดคุยด้วย
3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage)
อายุ 1 – 2 ปี
เลียนเสียงต่าง ๆ ที่เด็กได้ยิน
เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไป
พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา
ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion)
อายุ 2 – 4 ปี
อายุ 2 ปี 
เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
พูดเป็นคำ
รู้จักคำศัพท์ 150-300 คำ
เข้าใจสิ่งที่พูด / 3
ใช้คำบอกตำแหน่ง
ใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง
อายุ 3 ปี
พูดเป็นประโยคได้
รู้จักคำศัพท์ 900-1,000 คำ  เข้าใจสิ่งที่พูด 90%
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล


สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ
แสดงท่าทางเลียนแบบได้
รู้จักใช้คำถาม อะไร
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
เข้าใจคำถามง่ายๆ บอกเพศ ชื่อ อายุตัวเองได้


อายุ 4 ปี
บอกชื่อสิ่งของในรูป
ใช้คำบุพบทได้
รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี
ชอบเล่าเรื่อง
ชอบพูดซ้ำๆ
บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
รู้จักใช้คำถาม ทำไม
5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage)
อายุ 4 – 5 ปี
ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น
เริ่มเล่นสนุกกับคำและรู้จักคิดคำและประโยคของตนเอง
ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้
รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage)
อายุ 5 – 6 ปี
สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
รู้จักใช้คำถาม ทำไม” “อย่างไร
เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น
สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
ใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว
7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage)
อายุ 6 ปีขึ้นไป
เข้าใจคำพูดที่ใช้ในสังคม
ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
สนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
1.วุฒิภาวะ
อายุ 3 ขวบ จะสามารถใช้คำพูด 376 คำต่อวัน
อายุ 4 ขวบ จะพูดได้ 397 คำต่อวัน
2.สิ่งแวดล้อม
บ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ครู โรงเรียน
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4.การจัดชั้นเรียน
5.การมีส่วนร่วม (Participation)

พัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย
เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้น
ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ
หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง
ควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

ทบทวนเนื้อเพลง

เพลงในคาบเรียนนี้


เล่าภาพที่ตนเองวาด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำเนื้อหาทฤษฎีที่เรียนไปปรับใช้ในการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : วันนี้มีความพร้อมในการเรียนทบทวนเพลงได้ทุกเพลง เนื้อหาเข้าใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนทำผลงานออกมาได้ดีทุกคน
ประเมินอาจารย์ : เนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนกะทัดรัด เข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษาไม่ง่วงนอน และเข้าใจง่าย